Translate

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

มะละกออินทรีย์ ปลูกแล้วไม่ต้องกลัวคนไม่ซื้อ ขายได้หมดแน่นนอน

                มะละกออินทรีย์ สร้างชีวิตที่ดี
มะละกออินทรีย์ สร้างชีวิต สร้างความเป็นไท 
                                                                     
มะละกออินทรีย์(ฮอลแลนด์)
ในประเทศไทยมีการปลูกมะละกอกันมาก กระจายการปลูกกันไปทั่วประเทศ เพราะเป็นทั้งผลไม้และพืชผักที่ใช้ในการประกอบอาหาร โดยมะละกอที่ปลูกแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
              1.มะละกอกินผลสุก 
              2.มะละกอกินผลดิบ
                                                   
มะละกอพร้อมเก็บผลผลิต

มะละกอกินผลสุก ซึ่งเป็นผลไม้ใช้เป็นอาหารล้างปากหลังการรับประทานอาหาร ..เป็นอาหารว่าง,เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก โดยมะละกอกินผลสุกนี้มีการปลูกด้วยกันหลายสายพันธุ์เช่น ปักไม้ลาย หรือ เซเซกิ หรือ ฮอลแลนด์,ฮาวาย,เรดเลดี,แขกดำ ฯลฯ แต่ที่นิยมในท้องตลาดและตลาดเพื่อการส่งออก จะนิยมมะละกอฮอลแลนด์หรือ
ปักไม้ลาย หรือเซเซกิ มากกว่า เพราะมีขนาดผลไม่ใหญ่มาก
โดยมีขนาดน้ำหนักประมาณ 800-1,200 กรัม มีเนื้อเนียนหวานกรอบ เนื้อสีส้มแดงสวย เมล็ดน้อย โครงสร้างลูกปลอกเปลือกง่าย มีความหวานประมาณ 12-14 บริ๊ก และมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยระบบการย่อยอาหารได้ดี แถมราคาขายออกจากสวนก็ได้ราคาดีอีกด้วย ซึ่งพื้นที่ปลูกมะละกอกินผลสุก จะปลูกกันมากที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย,อำเภอพบพระ จังหวัดตาก,อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี,อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น  โดยเฉพาะถ้าแปลงไหนทำผิวได้สวย มีรสชาติหวานอร่อยแล้วละก้อ ขายหมดแน่นอน และยิ่งกว่านั้นถ้าแปลงไหนปลูกแบบอินทรีย์ละก้อ มียอดสั่งจองตลอดจนจัดคิวไม่หวาดไม่ไหว ขายได้ราคายิ่งขายดีเป็นเทน้ำเทท่า อย่างแน่นอนขอบอก เพราะคนรักสุขภาพและความปลอดภัยในการบริโภค
                                       
มะละกอพันธุ์แขกนวล


มะละกอกินผลดิบ เป็นมะละกอที่ปลูกกันแทบทุกบ้านทั่วทั้งประเทศ ทุกๆจังหวัด ทุกๆอำเภอ ทุกๆหมู่บ้าน เพราะเป็นพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนำมาประกอบอาหารเช่นแกงส้ม,ทอดมันมะละกอ,ผัดใส่ไข่ฯลฯ  นำผลพร้อมยางมาหมักอาหารเช่น หมู,ไก่,เนื้อ ให้มีความอ่อนนุ่ม  ทำน้ำยาปรับผ้านุ่ม(หลังจากซักด้วยผงซักฟอกแล้ว) ที่คุ้นเคยที่สุดสำหรับคนเดินทาง และเป็นอาหารยอดนิยมคือส้มตำไก่ย่าง นั่นเอง โดยเฉพาะคนแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือเป็นอาหารหลักเลยทีเดียวเพราะเป็นที่นิยมบริโภคกันมากกว่า3มื้อใน1สัปดาห์ หรือบางรายรับประทานส้มตำมากกว่า1มือใน1วันด้วย  
โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากคือสายพันธ์ุแขกดำ,แขกดำเนิน,ครั่ง,แขกนวล,ขอนแก่น80 เป็นต้น  โดยมะละกอกินผลดิบนี้จะนิยมให้มีลักษณะลูกยาวๆ เนื้อแน่น กรอบ เนื้อหนา โดยจะมีการเพาะปลูกมากในจังหวัดโคราช,ขอนแก่น,บุรีรัมย์,ศรีสะเกษ,อุบล ฯลฯ เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคอีสาน สร้างความร่ำรวยให้กับผู้ปลูกมานักต่อนักแล้ว 
แต่ในช่วงหลังๆ ด้วยสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงจึงทำให้ผู้ปลูกมะละกอประสพปัญหาขาดทุนด้วยโรคระบาดที่รุนแรง จนผู้ปลูกมะละกอขนหัวลุกก็คือเชื้อไวรัสวงแหวน ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอมาโดยตลอด ซึ่งการทำมะละกอโดยเน้นการปลูกแบบเคมี ร้อยละ90%จะประสพปัญหาโรคไวรัสวงแหวนแทบจะทุกราย และไม่สามารถปลูกซ้ำที่เดิมได้ จึงต้องระหกระเหนไปเช่าที่ปลูกในที่อื่น,อำเภออื่น,จังหวั้ดอื่น โดยเน้นในพื้นที่ๆไม่เคยปลูกมะละกอมาก่อน ทำให้กลับกลายเป็นภาระอันหนักอึ้งไม่ได้อยู่ในถิ่นฐานบ้านเกิดของตน
แต่ด้วยประสพการณ์การปลูกมะละกอและลงดูพื้นที่การปลูกมะละกออย่างต่อเนื่อง จนเราสามารถช่วยผู้ปลูกมะละกอให้ประสพผลสำเร็จ พิชิตเงินล้านได้หลายราย หลายจังหวัด และตอกย้ำว่า"สามารถปลูกมะละกอซ้ำที่เดิมได้"
โดยใช้แนวทางการทำแบบเกษตรอินทรีย์ผสมผสานกับเกษตรเคมี จนประสบความสำเร็จ ป้องกันและยับยั้งการระบาดของไวรัสวงแหวนได้ ให้หาย หรือเบาบางลง จนสามารถให้ผลผลิต เก็บจำหน่ายสู่ตลาดได้อย่างมีความสุข ได้สะตังค์ และยังสุขใจ
โดยที่สำคัญต้องเริ่มจาก
               - แหล่งเมล็ดพันธุ์
               - การเพาะพันธุ์
               - การให้อาหาร
               - การดูแลรักษา
               - การป้องกัน(การทำวัคซีน)

แหล่งเมล็ดพันธุ์

คุณสมบัติพิเศษของเมล็ดพันธุ์มะละกอเพื่อใช้ทำพันธุ์เพื่อเพาะปลูก
                -ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์อย่างพิถีพิถันจากผลมะละกอที่ได้จากต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงไม่เป็นโรคไวรัสวงแหวน 
                -ผลมะละกอ       ต้องมีขนาดตรงตามสายพันธุ์เท่านั้น 
                -การคัดเลือก      ต้องเลือกจากต้นและดอกมะละกอที่สมบูรณ์เพศ(ดอกกระเทย)เท่านั้น       และไม่ควรคัดเมล็ดจากต้นมะละกอตัวเมีย  เพราะเมล็ดจากต้นมะละกอตัวเมียจะมีเมล็ดมากแต่เมื่อปลูกจะเป็นต้นมะละกอตัวเมียเช่นเดียวกัน
                -เพื่อให้ได้เมล็ดที่มีความงอกสูง  เราจะคัดเลือกจากเมล็ดที่จมน้ำเท่านั้น


การเพาะพันธุ์ (เทคนิคการเพาะเมล็ดมะละกอแบบอินทรีย์)
มีหลายคนที่เพาะพันธุ์ มะละกอแล้วไม่ค่อยงอกหรือมีอัตราการงอกต่ำ การเพาะเมล็ดมะละกอเป็นเทคนิคแขนงหนึ่งซึ่งเราต้องใส่ใจเอาใจใส่    โดยมีส่วนของเมล็ดพันธุ์ซึ่งต้องได้จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เมล็ดพันธุ์เก็บไว้ไม่นานเกิน เมื่อได้เมล็ดพันธุ์ที่ดีแล้วควรปฎิบัติดังนี้ ซึ่งอัตราการงอกได้เกือบ 100% เลยทีเดียว
        1.น้ำเดือด 1 ส่วนผสมน้ำธรรมดา 1 ส่วน  แช่เมล็ดทันทีเพื่อทำการเปิดสปอร์เมล็ด เพราะเมล็ดมะละกอที่ได้มาจะแห้งจึงมีการฝักตัว เราต้องทำการกระตุ้นโดยใช้น้ำอุ่นประมาณ 50-60 องศาเซลเซียส
        2.แช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วขยี้เอาเมือกที่หุ้มเมล็ดออกแล้วล้างให้สะอาด แล้วเติมน้ำสะอาดพอท่วมเมล็ด        แล้วทำการกระตุ้นการงอกพร้อมเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยใช้
                  -ดรีม                              30 cc.
                  -ดีว่า                              30 cc.
                  -เอ็มเคสตาส์ท              20 cc.
              แช่เมล็ดต่ออีก 12-24 ชั่วโมง 
       3.สรงเมล็ดขึ้นจากสารอาหารที่แช่ไว้   แล้วนำไปบ่มในผ้าขนหนูหรือกระสอบป่าน วางไว้ในที่เย็นเช่นห้องน้ำ (หมายเหตุ ห้ามน้ำที่เกิดจากการอาบและชำระล้างร่างกายกระเด็นถูก,เปื้อน)    ทิ้งไว้ 3-5 วัน โดยรักษาความชื้นของกระสอบป่านหรือผ้าที่ห่อไว้ เมื่อสังเกตุเห็นการปริของเมล็ดจนเห็นเม็ดในสีขาว
       4.นำไปเพาะในถาดหลุมขนาด 60 หลุม หรือ 42 หลุม   หรือ
ถุงดำก็ได้ แต่ที่สำคัญที่สุดอาหารที่ใช้เลี้ยงต้นกล้าของมะละกอขอให้ใช้มีเดียสำหรับการเพาะมะละกอ     หรือที่ใช้เพาะเมล่อนเท่านั้น เพราะมีเดียประเภทนี้จะมีค่าแบคพีท,ไวท์พีท ที่สูงเหมาะสมสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารได้ยาวนานกว่ามีเดียทั่วไปในท้องตลาด เพราะผ่านการฆ่าเชื้อและปราศจากเชื้อโรค,ปราศจากดิน 
        5.นำมีเดียสำหรับมะละกอใส่ถาดให้เต็มหลุม      แล้วกดลงเบาๆ แล้วหยอดเมล็ดหลุมละ5 เมล็ด แล้วกลบด้วยมีเดียอีกครั้ง
หลังจากหยอดเมล็ดเสร็จ ให้รดน้ำเปล่าทุกวันและระวังมดหาม
เมล็ดมะละกอออกจากถาด     หมายเหตุ ระวังอย่ารดน้ำให้แฉะเมล็ดมะละกอจะเน่า และเกิดเชื้อรา
        6.เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกจนเกิดใบจริง 2-3 ใบ ให้ทำการบล๊อค
เชื้อรา แบคทีเรีย โดยใช้
              -ฟอสโฟ                                   10 cc.
              -ซิลิเกต (สร้างผนังเซลล์)      10 cc.
              -ปานะ                                         2 cc.(สารช่วยนำพาเข้าสู่ผนังเซลล์พืช)
        7.เมื่อต้นกล้าอายุได้ 20 วัน หรือมีใบจริง 4-5 ใบ ให้นำออกตากแดด เพราะต้นกล้าพร้อมที่จะลงปลูกในแปลงจริง โดยควรตากแดดอย่างน้อย 7-15 วัน 
การให้อาหาร(ทำการปลูก)
        1.ก่อนปลูกนำต้นกล้าในถาดเพาะจุ่ม
             -เอ็มเคสตาทส์                            30 cc.(กระตุ้นการสร้างรากฝอยที่ใช้หาอาหาร)
             -ฟอสโฟ                                      10 cc.(ป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย)
             -ซิลิเกต                                       10 cc.(สร้างผนังเซลล์และสร้างโครงสร้างต้นให้แข็งแรง)
           ผสมกับน้ำ20 ลิตร ในกระละมังจุ่มทั้งถาดให้ท่วม แล้วยกขึ้นทันที โดยทำก่อนล่วงหน้า 1 วันที่จะปลูก 
        2.ทำการไถพรวนยกร่อง ให้สูงไม่ให้น้ำท่วมขังต้นมะละกอได้ 
        3.ทำการขุดหลุม 1 หน้าจอบ แล้ว     ใส่หัวอาหารพืชเข้มข้น(ปุ๋ยขี้เกียจ)ผสมกับVee-1สมุนไพรบล๊อคเชื้อ ในอัตราส่วน
               -ปุ๋ยขี้เกียจ                         3  ถุง
               -Vee-1                                 1 กระปุก
         ผสมให้เข้ากันแล้วคลุกเคล้ากับดิน โดยใช้ปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ แล้วนำต้นกล้าวางปลูก
         4.หลังจากปลูกได้ 25วัน ให้ทำการล้างดิน โดยใช้ ซอยซายน์ 3 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำ 20 ลิตร ผสมคอร์ส 200 cc. ฉีดพ่นลงดินรอบทรงพุ่ม  ต้นละประมาณ 500 cc.ต่อหลุม ต่อต้น
         5.ให้ฉีดชาร์ปเลท 30 cc.ต่อน้ำ 20 ลิตรผสมปานะ 2 cc. ฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคไวรัสวงแหวน  และถ้ามีแมลงรบกวนให้ฉีดพ่นด้วยสมุนไพรเพื่อขับไล่แมลง 
         6.เมื่อต้นกล้าอายุได้เดือนครึ่ง ทำการแปลงเพศมะละกอ พร้อมทั้งให้อาหารทางใบโดยใช้
          -ฮอร์โมนแปลงเพศ                        30 cc./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นติดต่อกัน 3-4 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน/ครั้ง
          -ดรีม                                                20 cc.
          - F-1น้ำ                                              5 cc.
          -แคปซูลเขียว(ADE)                        6 แคปซูล
          -ฟอสโฟ                                           10 cc.
          -ซิลิเกต                                              1 ช้อนชา
          -ปานะ                                                 2 cc.
             ผสมกับน้ำ 20 ลิตร หมายเหตุ การใช้ฟอสโฟ ควรใช้สลับกับชาร์ปเลท
         7.เมื่อต้นมะละกอได้ 2 เดือน    ให้ใส่แร่The one ต้นละ 2 กำมือรอบทรงพุ่ม พร้อมทั้งทำการล้างดินปรับค่าPH โดยอาจผสมชาร์ปเลทลงไปด้วยเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันไวรัส 
         8.เมื่อมะละกอ แสดงการออกดอก     ให้คัดแต่ต้นที่มีดอกกระเทยไว้หลุมละ 1 ต้นเท่านั้น  ส่วนต้นที่มีดอกตัวผู้และตัวเมียให้ตัดทิ้งให้หมดออกจากแปลง 
         9.ฉีดป้องกันไวรัสวงแหวนและเพิ่มปริมาณการออกดอกให้ฉีดพ่นด้วย 
                 -ดรีม                                                  30 cc.
                 -ดีว่า                                                   20 cc.
                 -F-1น้ำ                                                 7 cc.
                 -แคปซูลเขียว(ADE)                        10 แคปซูล
                 -เอ็มลาซู(กระตุ้นการออกดอก)      30 cc.
                 -ปานะ                                                  2 cc.
           ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7-15 วัน โดยสามารถผสมชาร์ปเลท ร่วมด้วยได้ เพราะชาร์ปเลทมีคุณสมบัติป้องกันเชื้อไวรัสวงแหวน 
        10.เมื่อมีการติดผลให้ทำการขยายขนาดผลและเพิ่มแป้งน้ำตาลโดยใช้ จัมโบ้ 10 cc. และป้องกันโรคขาดคอใช้เอ็มลาซู
30 cc. และควรฉีดไล่แมลงเพื่อป้องกันพาหนะนำเชื้อไวรัสวงแหวนอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยใช้สมุนไพร 50 cc.ต่อน้ำ 20ลิตร
        11.ควรใส่แร่The one เดือนละครั้ง ต้นละ 2-4 กำมือ  และควรล้างดิน 2 เดือนครั้ง เพื่อยับยั้งการเกิดเชื้อรา ไวรัสวงแหวน 
        12.ในกรณีที่ลูกยางไหล ให้ฉีดพ่นด้วยจีลอง 30 cc/น้ำ20ลิตร และควรฉีดจีลองบ่อยๆ ในช่วงที่มีการติดลูก เพราะมะละกอต้องการธาตุอาหารรองสูง 

สนใจ สงสัยสอบถามรายละเอียดได้ที่ ชมรมเกษตรอินทรีย์บ้านสวนฟาร์ม    คุณเอ็ม 081-0460335,085-6030090